7 facts about sunscreens

ทุกๆครั้งเวลาตรวจคนไข้ คนไข้หลายคนมักจะถามว่า ครีมอะไรที่ควรทามากที่สุดทาเลือกได้ 1 อย่าง หมอขอบอกเลยว่าเป็นกันแดดนะคะ  วันนี้หมอเขียนวิธีเลือกกันแดด แบบง่ายๆมาให้อ่านกันค่ะ

blank blank

เวลาในการอ่าน : 2 minutes

1.SPF and PA Broad spectrum protection

ในแสงแดด มีตัวการร้ายที่ทำให้ก่อมะเร็งผิวหนัง  คือ รังสี UVB [290-320 nm] ซึ่งจะทำให้เกิด ผิวไหม้ แดง ดำ ค่าการป้องกันรังสีUVB คือ sun protective factor โดยทั่วไปที่ SPF 50 สามารถป้องกันแดด ได้ 98%  จึงเพียงพอ ต่อการป้องกัน UVB แล้วค่ะ  อีกตัวที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึง คือรังสีUVA ซึ่งมีอยู่ตั้งแต่เช้ายันเย็น โดย รังสีUVA มีผลทำให้เกิดภาวะ photo-aging คือการที่ผิวถูกทำลายด้วยแสงแดดทำให้เกิด การเหี่ยวย่น และ เกิดเม็ดสีที่ผิว รวมทั้งเป็นอีกตัวการที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ค่ะ  ค่า PA อย่างน้อยควรประมาณ สามบวกขึ้นไปค่ะ

2. Choose physical and chemical sunscreen

Physical sunscreen เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ สะท้อน รังสีทั้ง UVA และ UVB ออกจากผิวหนัง เช่น zinc oxide, titanium dioxide ข้อดีคือมักจะไม่ค่อยเกิดการแพ้ แต่ข้อเสียคือ เนื้อครีมจะขาวมากทำให้ทากันแดดแล้ว หน้าวอกขาว มากนั่นเองค่ะ ส่วน Chemical sunscreen เป็นสารเคมีที่มีหน้าที่ดูดซับแสง ข้อดีคือไม่วอกขาว แต่ข้อเสียคือพบคนที่แพ้สารกันแดดชนิด chemical มากกว่า จึงควรใช้สารกันแดดที่มีส่วนผสมของทั้งคู่ดีที่สุดค่ะ

3. Water resistant maintain SPF only 40 minutes

เวลาออกกลางแจ้ง เล่นกีฬา หรือมีเหงื่อ จะทำให้ประสิทธิภาพของกันแดดลดลง จึงควรใช้กันแดด ชนิด water resistance ซึ่ง FDA US กำหนด ไว้ว่า สามารถ คง SPF ได้อย่างน้อย 40 นาที ในขณะที่โดนน้ำ ส่วน Very water resistant คือ สามารถ คง SPF ได้อย่างน้อย 80 นาที ระยะเวลา น้อยกว่าที่คิดใช่มั้ยคะ และในปัจจุบัน ไม่ใช้คำว่าwaterproof แล้วนะคะ เพราะ ไม่มีกันแดด ที่มีประสิทธิภาพ waterproof ได้จริงๆ เพราะฉะนั้น หมอขอแนะนำคนที่ต้องโดนน้ำ และ ออกแดดเหงื่ออก ให้คอยทากันแดดซ้ำนะคะ เพราะ มันคง SPF แค่ 40 นาทีในน้ำ เท่านั้นค่ะ

4. Compact powder containing sunscreen is not enough

ปกติเวลาที่หมอรักษาคนไข้หมอ หมอจะรีวิว ผลิตภัณฑ์และครีมที่คนไข้ใช้ทุกเคส เวลาหลายๆครั้ง ที่หมอพูดถึงกันแดด คนไข้มักจะบอกว่า แป้งที่ใช้ รองพื้นที่ใช้ มีผสมกันแดด เรียบร้อยแล้วค่ะ ซึ่งหลายๆคนคิดว่า เพียงพอสำหรับการป้องกัน แดดแล้วบอกเลยว่าไม่พอนะคะ เพราะแป้งต่างๆ เราไม่แน่ใจว่าเค้าผสมสารป้องกันแดดมากน้อยแค่ไหน อีกอย่าง ไม่ติดทนเท่าครีมกันแดดจริงๆแน่นอน เพราะฉะนั้นทาแป้ง แล้วอย่าลืมทากันแดด ก่อนออกแดดทุกครั้งนะคะ

5. How to use sunscreen

เมื่อเราเลือกกันแดดได้ประสิทธิภาพสูงสุดแล้วแต่ถ้าทาผิดจบกันเลยนะคะ หมอมีเคล็ดลับการทากันแดดมาบอกค่ะ อย่างแรกควรทาก่อนออกแดด อย่างน้อบ 30 นาทีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เวลาทาทั่วใบหน้าแล้วอย่าลืมคอ และบริเวณอื่นๆที่ต้องออกแดดด้วยนะคะ ทาซ้ำ ทุก 2 ชม เวลาออกแดดถ้าเป็นไปได้ ต่อให้วันนั้น แดดไม่แรง ท้องฟ้าครึ้มเหมือนฝนจะตก แต่ UVA UVB ยังมีนะคะ เพราะฉะนั้นอย่าลืมทากันแดดค่ะ

6. How much to apply sunscreen

อันนี้ ก้อเป็นเรื่องที่สำคัญมากค่ะที่จะต้องทากันแดดปริมาณ พอสมควร ถึงจะมีประสิทธิภาพตาม SPF และ PA ข้างฉลาก เพราะเวลาที่ทดสอบ SPF เค้าทากันแดด หนาถึง 2mg ต่อ ตรเซนติเมตร ประมาณคร่าวๆก้อประมาณ 2 ข้อนิ้วกลาง ทั่วใบหน้า จึงจะได้ค่าSPFเท่ากับข้างฉลาก ในความเป็นจริงจึงค่อนข้างเป็นไปได้ยากใช่มั้ยคะที่จะทาได้หนาขนาดนั้น ดังนั้นหมอจึงไม่เคยแนะนำคนไข้ให้ใช้ SPF 15 ก็เพียงพอเพราะคงหาคนที่จะทา ได้ 1 gm. ทั่วหน้าหรือสองข้อสองนิ้วกลางได้ไม่มาก หมอจึงแนะนำคนไข้ตั้งแต่ SPF 30 ขึ้นไปค่ะ

7. When expose sunlight just sunscreen isn’t enough

นอกเหนือจากกันแดดแล้ว เวลาออกแดด อย่าลืม ร่ม หมวก เสื้อผ้าที่ปิดมิดชิดนะคะ แล้วก็อย่าลืมแว่นกันแดดเพื่อปกป้องสายตาด้วยค่ะ มีหลายคนอาจจะเขินกับการถือร่ม ใส่หมวกนะคะ หมอบอกเลย อย่าได้แคร์ค่ะ เพราะเราทำเพื่อดูแลสุขภาพผิวป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังค่ะ

blank

By Dr. Jeab; The Clover Clinic

MD Mahidol

Diploma in Dermatology Cardiff University, Wales, UK

Fellowship in Dermatology, Mt Sinai ,Miami US

blank blank

17 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับ EMSCULPT นวัตกรรมแรกของโลก ลดไขมัน สร้างกล้ามเนื้อ สร้างซิกแพคในเครื่องเดียว

17 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับ EMSCULPT นวัตกรรมแรกของโลก ลดไขมัน สร้างกล้ามเนื้อ สร้างซิกแพคในเครื่องเดียว

Emsculpt คืออะไร Emsculpt เป็น เครื่องเทคโนโลยี HIFEM ( High Intensity Focused Electromagnetic ) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มข้นสูง เครื่องแรกของโลก ที่เรียกได้ว่าเป็น Game Changing เพราะสามารถทั้งลดไขมันและสร้างกล้ามเนื้อได้ภายในเครื่องเดียว...

Thermage flx คืออะไร ใครบ้างที่ควรทำ ทำเทอร์มาจเจ็บไหม อันตรายหรือไม่? มีคำตอบ!!

Thermage flx คืออะไร ใครบ้างที่ควรทำ ทำเทอร์มาจเจ็บไหม อันตรายหรือไม่? มีคำตอบ!!

Thermage เทอร์มาจ คืออะไร Thermage คือ เครื่องที่ปล่อยคลื่นความถี่วิทยุความถี่สูง (monopolar RF) เป็นเครื่องออริจินัลนำเข้าจากประเทศอเมริกา ผ่านการรับรองจากทั้ง อย.อเมริกา และ อย.ไทย...

Thermage FLX เทอร์มาจรุ่นล่าสุด

Thermage FLX เทอร์มาจรุ่นล่าสุด

Thermage คืออะไร Thermage คือ เทคโนโลยี คลื่นความถี่วิทยุความถี่สูง (Monopolar RF) จากประเทศอเมริกา โดยได้รับการรับรองจากประเทศอเมริกา และ ทั่วโลกเลยนะคะ ว่าช่วยเรื่องของการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และ Skin Tightening คือทำให้ผิวแน่นนั่นเองค่ะ กลไกการทำงานของมัน...

MMFU ยกกระชับผิวหน้าและตัว ประสิทธิภาพเหนือกว่าHIFU

MMFU ยกกระชับผิวหน้าและตัว ประสิทธิภาพเหนือกว่าHIFU

MMFU คืออะไร คือ เทคโนโลยีกระชับผิวหน้าและสลายไขมันใต้ชั้นผิว ที่สามารถผลิตคลื่นเสียงความถี่สูงที่มีความเข้มข้นสูงและเฉพาะเจาะจง ( Focused Ultrasound ) ที่เรียกว่า MMFU : Micro & Macro Focused Ultrasound ( เอ็มเอ็มเอฟยู : ไมโครแอนด์แมคโครโฟกัสอัลตร้าซาวน์ )...

Our Promotion!
blank

New Ulthera SPT

0 comments
blank

The Clover Clinic 5.5

0 comments
blank

Alpha Arbutin ฝ้า กระ หาย ผิวใสเด้ง

0 comments
blank

YVOIRE Filler จาก LG aesthetic ประเทศเกาหลี

YVOIRE Filler เกรดพรีเมียม จาก LG aesthetic ประเทศเกาหล […]

0 comments

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า